การขึ้นทะเบียนนายจ้างกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน

Yo การอ่าน:240 16-09-2024 15:56:58 ความคิดเห็น:0

การขึ้นทะเบียนนายจ้างกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน

หน้าที่ของเครื่องหมายการค้า (4).jpg


ประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่มีรายได้ และจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่อรับผิดชอบเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตรทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์ ชราภาพ และการว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาล และมีการทดแทนรายได้อย่างต่อเนื่อง กฎหมายกำหนดให้นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป จะต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีลูกจ้าง 

กองทุนเงินทดแทน (เนื่องจากการทำงาน)  คือ กองทุนที่จ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตายหรือสูญหาย สูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายอันเนื่องมาจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โดยไม่คำนึงถึงวันเวลาและสถานที่ แต่จะดูสาเหตุที่ทำให้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย และนายจ้างมีหน้าที่ยื่นแบบรายการขึ้นทะเบียนนายจ้างวิธียื่นแบบรายการ การจ่ายเงินสบทบ  สำนักงานแห่งท้องที่ที่นายจ้างยื่นแบบขึ้นทะเบียนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบ

หน้าที่ของเครื่องหมายการค้า (5).jpg


สิทธิประกันสังคม ที่ผู้ประกันตนจะได้รับ 

1.สิทธิประโยชน์กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย อันไม่ใช่เนื่องจากการทำงาน

                เงื่อนไขการเกิดสิทธิ

                -จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนเดือนที่รับบริการทางการแพทย์

                สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ

            -การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เข้ารับบริการในสถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิ ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด

            -กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่เข้ารักษาในสถานพยาบาลที่สำนักงานกำหนดสิทธิ

            - ผู้ประกันตนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

            - กรณีต้องหยุดงานพักรักษาตัวตามคำสั่งแพทย์  ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ร้อยละ 50 ของ*ค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วันต่อครั้ง และไม่เกิน 180 วันต่อปี เว้นแต่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วันต่อปี

            -กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ ผู้ป่วยนอก เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น

            ผู้ป่วยใน เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง (ไม่รวมวันหยุดราชการ) ค่าห้องและค่าอาหารเบิกได้ไม่เกิน 700 บาท/วัน

            - เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชน ผู้ป่วยนอก เบิกเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาท

            ผู้ป่วยใน เบิกตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง (ไม่รวมวันหยุดราชการ) ค่าห้องและค่าอาหารเบิกได้ไม่เกิน 700 บาท/วัน

            -กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ผู้ประกันตนไม่ต้องสำรองจ่าย โดยสำนักงานจะรับผิดชอบค่าบริการทางการแพทย์จนพ้นภาวะวิกฤตภายใน 72 ชั่วโมง (นับรวมวันหยุดราชการ) ให้แก่สถานพยาบาลเอกชนที่รักษา

            -ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์การบำบัดโรค ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด

            การปลูกถ่ายไขกระดูก การเปลี่ยนอวัยวะกระจกตา  การบำบัดทดแทนไต การผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ ปอด ตับ ตับอ่อน และกรณีปลูกถ่ายอวัยวะมากกว่าหนึ่งอวัยวะพร้อมกัน ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด

            -กรณีทันตกรรม ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าตัดฟันคุด เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 900 บาทต่อปีปฏิทิน

              กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาล ที่ทำความตกลงกับสำนักงาน ไม่ต้องสำรองจ่าย  ผู้ประกันตนจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เฉพาะส่วนเกินจากสิทธิที่ได้รับ

2. กรณีคลอดบุตร

            -หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ

              จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร 

               จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 15,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วันสำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน

                กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง ค่าตรวจและรับฝากครรภ์

หมายเหตุ*ค่าจ้าง หมายถึง ค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบที่นำส่งสำนักงาน ขั้นต่ำ 1,650 บาท และไม่เกิน 15,000 บาท

สิทธิประโยชน์ด้านอื่นๆ ผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของประกันสังคม

การจ่ายประกันสังคม

ลูกจ้างและนายจ้าง จ่ายฝ่ายละ 5% ปัจจุบันผู้ประกันตนประกันสังคมมาตรา 33 จะต้องจ่ายเงินสมทบ 5% ของรายได้ต่อเดือน โดยคิดจากฐานค่าจ้างขั้นต่ำสุดที่ 1,650 บาท/เดือน และสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท/เดือน ดังนั้นผู้ประกันตนที่ได้รับเงินค่าจ้างต่ำสุด จะต้องจ่ายเงินสมทบอยู่ที่ 83 บาท/เดือน ส่วนผู้ที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป จะต้องจ่ายเงินสมทบจำนวน 750 บาท/เดือน

หน้าที่ของเครื่องหมายการค้า (6).jpg

บทกำหนดโทษ

หากนายจ้างไม่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมให้ลูกจ้าง นายจ้างถือว่ามีความผิด ระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


Facebook-Management YouTube Facebook-Consultant Facebook-Recruitment
คุณมองเห็นเรื่องนี้อย่างไร
  • ร้องไห้

    0คน

  • ไม่สำคัญ

    0คน

  • ดีใจ

    0คน

  • ปรบมือ

    0คน

  • น่ากลัว

    0คน

Notice

1. สถานีนี้ปฏิบัติตามมาตรฐานในวงการ และทุกบทความที่ถูกคัดลอกจะถูกทำเครื่องหมายชัดเจนว่าเป็นของผู้เขียนและแหล่งที่มา; 2. บทความต้นฉบับของสถานีนี้ โปรดระบุผู้เขียนและแหล่งที่มาเมื่อมีการคัดลอก เราจะดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ที่ไม่เคารพสิทธิของผู้เขียน; 3. การส่งบทความของผู้เขียนอาจถูกดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติมโดยบรรณาธิการของเราในบางกรณีที่เหมาะสม

แสดงความคิดเห็น
ค้นหา
อันดับ
รายการแท็ก
ติดตามเรา

สแกนเพิ่มเราเป็นเพื่อน เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติม

ความคิดเห็นล่าสุด

    กรุณาติดต่อเรา

    โปรดกรอกหมายเลขโทรศัพท์ของคุณ แล้วเราจะติดต่อกลับโทรศัพท์

    คุณคือผู้เยี่ยมชมคนที่ 74339 ของเว็บไซต์นี้ วันนี้มีบทความใหม่ 0 บทความ