การทำธุรกิจบริการเป็นสำนักงานผู้แทนของนิติบุคคลต่างประเทศ
การทำธุรกิจบริการเป็นสำนักงานผู้แทนของนิติบุคคลต่างประเทศในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
สำนักงานผู้แทนเป็นธุรกิจบริการตามบัญชีสาม (21) ท้ายพระราชบัญญัติฯ ซึ่งเดิมคำจำกัดความของสำนักงานผู้แทนถือตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอตั้งสำนักงานผู้แทนของนิติบุคกลต่างประเทศในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2529 ต่อมาระเบียบดังกล่าวถูกยกเลิกไป พร้อมกับประกาศของกณะปฏิวัติฉบับที่ปัจจุบันจึงถือคำจำกัดความของสำนักงานผู้แทนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 ซึ่งหมายถึงธุรกิจบริการในด้านต่างๆ คังนี้
(1) การหาแหล่งจัดซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศไทยให้สำนักงานใหญ่
(2) การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพและปริมาณของสินค้าที่สำนักงานใหญ่ซื้อหรือจ้างผลิตในประเทศไทย
(3) การให้คำแนะนำในด้านต่างๆ เกี่ยวกับตัวสินค้าของสำนักงานใหญ่ที่จำหน่ายแก่ตัวแทนจำหน่ายหรือผู้ใช้สินค้า
(4) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่งๆ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการใหม่ของสำนักงานใหญ่
(5) การรายงานความเคลื่อนไหวทางธุรกิจในประเทศไทยให้สำนักงานใหญ่ทราบ
ลักษณะทั่วไปของสำนักงานผู้แทน
(1) ไม่มีรายได้จากการให้บริการ
(2) ไม่สามารถรับคำสั่งซื้อหรือเสนอขายหรือเจรจาทำธุรกิจกับบุคคลหรือนิติบุคคลในประเทศที่เข้าไปตั้ง
(3) ได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายในสำนักงานใหญ่เท่านั้น
(4) ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรเว้นแต่ดอกเบี้ยเงินฝากเงินที่เหลือจากเงินซึ่งได้รับจากสำนักงานใหญ่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ธุรกรรมที่เกินขอบเขตการเป็นสำนักงานผู้แทน
-ทำการสั่งซื้อหรือชำระราคาสินค้าแทนสำนักงานใหญ่หรือบริษัทในเครือ หรือดำเนินการและจัดทำธุรกรรมใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดซื้อ
- ทำการส่งออกสินค้าที่สำนักงานใหญ่หรือบริษัทในเครือสั่งซื้อ
-ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพและปริมาณของสินค้าให้กับบริษัทที่มิใช่สำนักงานใหญ่หรือบริษัทในเครือ
- ให้บริการหลังการขายเกี่ยวกับการติดตั้ง การซ่อมบำรุง
- ให้คำแนะนำสินค้าที่สำนักงานใหญ่หรือบริษัทในเครือไม่ได้เป็นผู้ผลิตหรือจำหน่าย
- รับคำสั่งซื้อสินค้าหรือบริการแทนสำนักงานใหญ่หรือบริษัทในเครือ
- ประสานงานในการซื้อขายสินค้าแทนสำนักงานใหญ่หรือบริษัทในเครือ
- เผยแพร่สินค้าหรือบริการเดิมที่ได้มีการจำหน่ายในประเทศไทยแล้ว
- ดำเนินงานในลักษณะที่เป็นคนกลางหรือตัวแทนจำหน่ายระหว่างลูกค้าในประเทศไทยกับสำนักงานใหญ่หรือบริษัทในเครือ
-วางแผนและประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ในเชิงธุรกิจแทนสำนักงานใหญ่หรือบริษัทในเครือ
- เป็นตัวแทนทำสัญญาหรือธุรกรรมใดๆ แทนสำนักงานใหญ่หรือบริษัทในเครือ
-รายงานข้อมูลให้กับธุรกิจอื่นไม่ใช่สำนักงานใหญ่หรือบริษัทในเครือ
ขอบข่ายการทำธุรกิจบริการเป็นสำนักงานภูมิภาค
สำนักงานภูมิภาค เป็นธุรกิจบริการตามบัญชีสาม (21) ท้ายพระราชบัญญัติฯ ซึ่งหมายถึงสำนักงานที่บริษัทข้ามชาติตั้งขึ้นในประเทศอื่นนอกจากประเทศที่จดทะเบียนเป็นสำนักงานใหญ่ โดยไม่ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประทศที่เข้าไปจัดตั้ง เพื่อให้บริการในด้านต่างๆ ดังนี้
(1) การติดต่อประสานงานและกำกับการดำเนินงานของสาขาและหรือบริษัทในเครือที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันแทนสำนักงานใหญ่
(2) การให้บริการปรึกษาและบริการการจัดการ
(3) การฝึกอบรมและพัฒนาบุคคล
(4) การจัดการด้านการเงิน
(5) การควบคุมการตลาดและวางแผนส่งเสริมการขาย
(6) การพัฒนาผลิตภัณฑ์
(7) การบริการการวิจัยและพัฒนา
บริษัทข้ามชาติ หมายถึง นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและเข้าไปคำเนินธุรกิจในประเทศอื่น พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังกับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุบกษาเป็นต้นไป
ลักษณะทั่วไปของสำนักงานภูมิภาค
(1) ต้องมีสำนักงานสาขาหรือบริษัทในเครือตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชีย
(2) ไม่มีรายได้จากการให้บริการ
(3) ไม่สามารถรับคำสั่งซื้อหรือเสนอขายหรือเจรจาทำธุรกิจกับบุคคลหรือนิติบุคคลในประเทศที่เข้าไปตั้ง
(4) ได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายในสำนักงานจากสำนักงานใหญ่เท่านั้น
(5) ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร เว้นแต่ดอกเบี้ยเงินฝากเงินที่เหลือจากเงินซึ่งได้รับจากสำนักงานใหญ่ ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
หากสนใจตั้งสำนักงานผู้แทนหรือสำนักงานภูมิภาค สามารถสอบถาม TMA ได้ ทาง TMA ยินดีให้บริการ
ที่มา เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
ร้องไห้
0คน
ไม่สำคัญ
0คน
ดีใจ
0คน
ปรบมือ
0คน
น่ากลัว
0คน
1. สถานีนี้ปฏิบัติตามมาตรฐานในวงการ และทุกบทความที่ถูกคัดลอกจะถูกทำเครื่องหมายชัดเจนว่าเป็นของผู้เขียนและแหล่งที่มา; 2. บทความต้นฉบับของสถานีนี้ โปรดระบุผู้เขียนและแหล่งที่มาเมื่อมีการคัดลอก เราจะดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ที่ไม่เคารพสิทธิของผู้เขียน; 3. การส่งบทความของผู้เขียนอาจถูกดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติมโดยบรรณาธิการของเราในบางกรณีที่เหมาะสม