การสอบสวนคดีในไทย

Yo การอ่าน:526 30-07-2024 16:14:40 ความคิดเห็น:0

การสอบสวนคดีในไทย

IG (21).jpg

           โดยปกติ คดีอาญาจะเริ่มจากการที่ผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจโดยกล่าวหาว่ามีผู้กระทำความผิ และการกระทำนั้นทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งการกล่าวหานั้น ผู้เสียหายมีเจตมาให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ หลังจากนั้น เจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าว ต้องรีบจัดการส่งไปยังพนักงานสอบสวน (ความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ เช่น หมิ่นประมาท ฉ้อโกง ทำให้เสียทรัพย์เป็นต้น ต้องมีการร้องทุกข์ก่อน พนักงานสอบสวนจึงจะสอบสวนได้)

เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจและพนักงานสอบสวนได้รับแจ้งเหตุแล้ว จะทำการสืบสวนและสอบสวนเพื่อรวบรวพยานหลักฐานจัดเป็นสำนวนคดี โดยมีอำนาจดังนี้

สืบสวนหาตัวผู้กระทำผิดและพยานหลักฐาน

ค้นตัวบุคคลและค้นสถานที่ต่างๆ เพื่อหาพยานหลักฐาน

จับกุมผู้ต้องหามาดำเนินคดี

ออกหมายเรียกพยานและผู้ต้องหามาสอบสวนไว้เป็นหลักฐาน

ยึดวัตถุพยานไว้เป็นหลักฐาน

ควบคุมผู้ต้องหาไว้สอบสวน

ให้ประกันตัวผู้ต้องหาระหว่างสอบสวน

IG (22).jpg


หลังจากพนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานเสร็จก็จะสรุปสำนวนแล้วมีความเห็นทางใดทางหนึ่ง คือ

เห็นควรงดการสอบสวน กรณีไม่ปรากฎว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำความผิด

เห็นควรสั่งฟ้อง ก็จะส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการเพื่อดำเนินการต่อไป

   เห็นควรสั่งไม่ฟ้อง จะส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการต่อไป ส่วนตัวผู้ต้องหา หากอยู่ในความควบคุมของพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนมีอำนาจปล่อยตัวหรือปล่อยชั่วคราวได้ หากอยู่ในความควบคุมของศาล

พนักงานสอบสวนอาจขอหรือให้พนักงานอัยการขอให้ศาสปล่อยตัวผู้ต้องหา

เมื่อได้รับสำนวนการสอบสวนจากพนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานอัยการจะพิจารณาว่าควรสั่งฟ้องหรือไม่ โดยอาจสั่งให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติมได้

กรณีไม่เห็นด้วยกับความเห็นควรสั่งไม่ฟ้องของพนักงานสอบสวนหรือกรณีเห็นควรสั่งฟ้องเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการก็จะสังฟ้องและแจ้งพนักงานสอบสวนส่งตัวผู้องหามาเพื่อฟ้องต่อไป

หากเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง จะออกคำสั่งไม่ฟ้อง ถ้าผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวอยู่ก็ยื่นคำร้องต่อศาลขอปล่อยตัว ถ้าผู้ต้องหามีประกันชั้นพนักงานอัยการ ก็จะปล่อยตัวและคืนหลักทรัพย์ประกันแก่ผู้ประกันไป ฯลฯ

เมื่อมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีแล้ว ห้ามสอบสวนผู้ต้องหาในเรื่องเดียวกันนั้นอีก เว้นแต่จะได้พยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่ดีซึ่งน่าจะน่าจะทำให้ศาลลงโทษได้

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเรื่องผู้เสียหายใช้กระบวนการของรัฐดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด บางกรณีผู้เสียหายจะเลือกใช้วิธีเป็นโจทกยื่นฟ้องคดีต่อศาลเงโดยตรงก็ได้

 

Investigation

Criminal cases are typically commenced when an injured person files a complaint with the police officer that a person committed a crime which causes injury and the injured person intends to pursue punishment against the offender. After that, the police officer shall forward such complaint to the inquiry officer without delay (in case of compoundable offences, for example, defamation, fraud, mischief, the investigation by inquiry officer shall not be initiated without

a complaint).

After being informed of a crime, the police officer and the inquiry officer will conduct an investigation and inquiry in order to collect evidence for a case file. In doing so, the police officer and the inquiry officer shall have power to:

Investigate to identify the alleged offender and collect evidence;

Search persons and places to collect evidence;

Arrest alleged offender for prosecution;

Issue summons for interrogation of the alleged offender and interviewing of witnesses;

Seize all articles which may be used as evidence;

Hold the alleged offender in custody for interrogation;

Grant provisional release to the alleged offender.

When the aforesaid inquiry officer completes the inquiry he or she may be of the following opinions:

Discontinue the inquiry, if it has not been ascertained who has committed the offence;

Submit an opinion that a prosecution order should be made and send the opinion, together with both the file and the allegedoffender, to the public prosecutor;

Submit an opinion that a non-prosecution order should be made and send the opinion, together with the file, to the public prosecutor. The inquiry officer may grant a provisional release to the alleged offender held in custody. If the alleged offender is detained by the court, the inquiry officer may apply or request the public prosecutor to apply by motion to the court for his provisional release.

Upon receipt of the opinion and file from the inquiry officer, the aforementioned public prosecutor has the authority to make a decision whether to issue a prosecution order. Otherwise, the public prosecutor may direct the inquiry officer to conduct additional inquiries.

Notwithstanding the opinion from the inquiry officer, the public prosecutor may make a decision to issue a prosecution order and direct the inquiry officer to submit the alleged offender to be prosecuted.

In case where the public prosecutor issues a non-prosecution order and the alleged offender is held in custody or detained,an application to release him shall be made to the court. And the securities regarding provisional release shall be returned to the person entitled thereto.

After the final non-prosecution order has been issued, no inquiry can be re-conducted against the alleged offender on account of the same offence, unless there is fresh evidence material to the case that would likely lead to the conviction of the alleged offender.

The criminal procedures as above mentioned are for charges entered into the court by a public prosecutor. Nevertheless, in somecases, the injured person may directly file a criminal charge.

 

ที่มา: สำนักการต่างประเทศ สำนักงานศาลยุติธรรม Office of International Affairs, Office of the Judiciary

 


Facebook-Management YouTube Facebook-Consultant Facebook-Recruitment
คุณมองเห็นเรื่องนี้อย่างไร
  • ร้องไห้

    0คน

  • ไม่สำคัญ

    0คน

  • ดีใจ

    0คน

  • ปรบมือ

    0คน

  • น่ากลัว

    0คน

Notice

1. สถานีนี้ปฏิบัติตามมาตรฐานในวงการ และทุกบทความที่ถูกคัดลอกจะถูกทำเครื่องหมายชัดเจนว่าเป็นของผู้เขียนและแหล่งที่มา; 2. บทความต้นฉบับของสถานีนี้ โปรดระบุผู้เขียนและแหล่งที่มาเมื่อมีการคัดลอก เราจะดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ที่ไม่เคารพสิทธิของผู้เขียน; 3. การส่งบทความของผู้เขียนอาจถูกดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติมโดยบรรณาธิการของเราในบางกรณีที่เหมาะสม

แสดงความคิดเห็น
ค้นหา
อันดับ
รายการแท็ก
ติดตามเรา

สแกนเพิ่มเราเป็นเพื่อน เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติม

ความคิดเห็นล่าสุด

    กรุณาติดต่อเรา

    โปรดกรอกหมายเลขโทรศัพท์ของคุณ แล้วเราจะติดต่อกลับโทรศัพท์

    คุณคือผู้เยี่ยมชมคนที่ 74424 ของเว็บไซต์นี้ วันนี้มีบทความใหม่ 0 บทความ