ทะเบียนบ้านเล่มสีน้ำเงิน ต่างจากเล่มสีเหลืองอย่างไร

Yo การอ่าน:350 30-05-2024 15:02:42 ความคิดเห็น:0

16.jpg


ทะเบียนบ้านทั่วไปที่เราเห็นจนชินตาก็ คือ 

ทะเบียนบ้านเล่มสีน้ำเงินหรือ .. 14 ซึ่งเป็นทะเบียนบ้านสำหรับผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น 

ส่วนเล่มสีเหลืองหรือ .. 13 สำหรับชาวต่างชาติที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อสังหาฯ เป็นผู้ถือครอง 

ซึ่งทะเบียนบ้านเล่มเหลืองนี้มีประโยชน์กับชาวต่างชาติมาก ไม่ว่าจะเป็น การยื่นขอสัญชาติ การทำใบขับขี่ การใช้ยืนยันถิ่นที่อยู่ในไทย รวมถึงช่วยในการทำบัตรประจำตัวชาวต่างชาติหรือบัตรชมพูได้ง่ายขึ้นอีกด้วย เรียกได้ว่าคุ้มค่าคุ้มเวลากับการเตรียมเอกสารและดำเนินการขอเล่มทะเบียนอย่างแน่นอน

17.jpg


ชาวต่างชาติที่มีชื่อในทะเบียนบ้านไทยจะได้สิทธิในการทำนิติกรรมในประเทศไทย เช่น ทำใบขับขี่ ทำเอกสารสัญญาต่างๆ ยื่นขอ PR หรือขอสัญชาติและใช้ยืนยันถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย นอกจากนั้นยังช่วยในการทำเอกสารบัตรประจำตัวชาวต่างชาติหรือบัตรชมพูได้อย่างง่ายดายอีกด้วย

18.jpg


ชาวต่างชาติที่จะขอ ท.ร.13 ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ?

ถึงแม้จะเป็นชาวต่างชาติที่เข้าประเทศมาแบบถูกกฎหมาย แต่อาจจะไม่ใช่ทุกคนที่จะขอท..13 ได้ เพราะคุณสมบัติที่กำหนดไว้ มี 2 กรณีหลักๆดังต่อไปนี้

1. กรณีสมรสกับผู้มีสัญชาติไทย

2. กรณีซื้ออสังหาริมทรัพย์และมีชื่อตนเองเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์

กรณีนอกเหนือจากสองข้อนี้ หากต้องการยื่นขอทะเบียนบ้านเล่มเหลืองหรือ ..13 ทางเจ้าบ้านจะต้องแสดงความจำนงมาดำเนินการกับทางเขตหรืออำเภอ และจะต้องผ่านการสัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่ถึงเหตุผลจำเป็นในการขอเอกสารนี้

กรณีที่เจ้าของบ้านหรือเจ้าบ้านต้องการขอเอกสารนี้ให้กับชาวต่างชาติที่เป็นผู้เช่าหรือเป็นเพื่อนหรือคู่ค้าทางธุรกิจก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยสามารถติดต่อเขตหรืออำเภอที่มีทะเบียนบ้านอยู่เพื่อขอรายละเอียดและลิสต์ของเอกสารที่

19.jpg


คุณสมบัติของชาวต่างชาติที่สามารถมีชื่อในทะเบียนบ้านประเทศไทย

สำหรับตามกฎหมายการทะเบียนราษฎรนั้น นายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่นจะจัดทำทะเบียนบ้านสำหรับบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว โดยผ่อนผันเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ซึ่งบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย หรือชาวต่างชาติจะต้องมีคุณสมบัติในการผ่อนผันดังนี้

1. ชาวต่างชาติที่จดทะเบียนสมรสกับบุคคลที่มีสัญชาติไทย

กรณีที่ชาวต่างชาติจดทะเบียนสมรสเป็นสามี หรือภรรยากับบุคคลที่มีสัญชาติไทย จะต้องให้เจ้าบ้านไปแจ้งต่อสำนักทะเบียนตามภูมิลำเนาที่บ้านตั้งอยู่ โดยกรอกคำร้องเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร ขอเพิ่มชื่อบุคคลในทะเบียนบ้าน

2.ชาวต่างชาติที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์เป็นของตนเอง

ตามกฎหมายของไทยได้จำกัดให้ชาวต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของห้องชุดได้ไม่เกิน 49% ของห้องชุดทั้งหมดในอาคาร หรือสามารถซื้อคอนโดมิเนียมได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายผ่านการโอนกรรมสิทธิ์จากกรมที่ดิน และสามารถดำเนินการขอทะเบียนบ้าน(..13 สีเหลือง)ได้

3.ชาวต่างชาติที่ได้บัตรประชาชน

ในกรณีที่ชาวต่างชาติได้บัตรประชาชนจะต้องอาศัยอยู่ในประเทศไม่น้อยกว่า 5 ปี  และจะต้องทำเรื่องขอเปลี่ยนสัญชาติเป็นไทย โดยผ่านกระบวนการ ขั้นตอนการพิจารณาต่าง 


Facebook-Management YouTube Facebook-Consultant Facebook-Recruitment
คุณมองเห็นเรื่องนี้อย่างไร
  • ร้องไห้

    0คน

  • ไม่สำคัญ

    0คน

  • ดีใจ

    0คน

  • ปรบมือ

    0คน

  • น่ากลัว

    0คน

Notice

1. สถานีนี้ปฏิบัติตามมาตรฐานในวงการ และทุกบทความที่ถูกคัดลอกจะถูกทำเครื่องหมายชัดเจนว่าเป็นของผู้เขียนและแหล่งที่มา; 2. บทความต้นฉบับของสถานีนี้ โปรดระบุผู้เขียนและแหล่งที่มาเมื่อมีการคัดลอก เราจะดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ที่ไม่เคารพสิทธิของผู้เขียน; 3. การส่งบทความของผู้เขียนอาจถูกดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติมโดยบรรณาธิการของเราในบางกรณีที่เหมาะสม

แสดงความคิดเห็น
ค้นหา
อันดับ
รายการแท็ก
ติดตามเรา

สแกนเพิ่มเราเป็นเพื่อน เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติม

ความคิดเห็นล่าสุด

    กรุณาติดต่อเรา

    โปรดกรอกหมายเลขโทรศัพท์ของคุณ แล้วเราจะติดต่อกลับโทรศัพท์

    คุณคือผู้เยี่ยมชมคนที่ 41315 ของเว็บไซต์นี้ วันนี้มีบทความใหม่ 0 บทความ