ประเภทขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย

Yo การอ่าน:282 22-04-2024 09:14:43 ความคิดเห็น:0

48.jpg


การที่จะประกอบทําธุรกิจในเปิดองค์กรของประเทศไทย จําเป็นมากที่ต้องรู้การจดทะเบียนตามกฎหมายของไทยองค์กรธุรกิจในประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) นิติบุคคล (จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย) และ (2) ไม่เป็นนิติบุคคล (อาจต้องจดทะเบียนตาม พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์) ภายใต้การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ยังมีการจัดจำแนกออกเป็น 4 ประเภท

47.jpg


( 1 ) ห้างหุ้นส่วน คือ องค์กรธุรกิจที่มีจำนวนบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงกันเพื่อดำเนินการธุรกิจ โดยตั้งแต่เริ่มต้นจะต้องมีข้อตกลงเกี่ยวกับการลงทุนร่วมกันในด้านต่าง ๆ  เช่น เงิน (ไม่ต้องมีจำนวนเงินขั้นต่ำ), ทรัพย์สิน หรือแรงงาน เพื่อผลิตผลกำไรและการแบ่งปันผลกำไรตามสัดส่วนที่เห็นชอบ ห้างหุ้นส่วนที่เป็นนิติบุคคลจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อยคือ

(1.1) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เป็นรูปแบบที่ทุกหุ้นส่วนจะต้องมีการระบุชื่อผู้ถือหุ้นส่วนอย่างชัดเจนและจะถือหุ้นส่วนที่ “ไม่จำกัดความรับผิดชอบ” ซึ่งหมายความว่าผู้ถือหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบในข้อกำหนดของหนี้สินที่เกิดขึ้นโดยไม่มีจำกัดจำนวน ตัวอย่างเช่นถ้าห้างหุ้นส่วนมีหนี้สินจากการดำเนินธุรกิจเกิดขึ้น ผู้ถือหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้สินทั้งหมดโดยไม่มีขีดจำกัด

(1.2) ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประกอบด้วยหุ้นส่วน 2 ประเภท ได้แก่ หุ้นส่วนประเภท “จำกัดความรับผิดชอบ” โดยที่การลงทุนจะต้องเป็นเงินหรือทรัพย์สินเท่านั้น และผู้ถือหุ้นประเภทนี้จะไม่มีสิทธิ์ในการบริหารงานหรือการตัดสินใจในกิจการ แต่มีสิทธิ์ในการให้ความเห็น สอบถามหรือให้คำปรึกษา และหุ้นส่วนประเภท “ไม่จำกัดความรับผิด” ที่จะต้องรับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินทั้งหมด


49.jpg

( 2 ) บริษัทจำกัด คือ องค์กรธุรกิจที่มีอย่างน้อย 2 คนเป็นผู้ถือหุ้น และมีเป้าหมายในการแบ่งปันกำไรจากธุรกิจ มีการแบ่งทุนเป็นหุ้นที่มีมูลค่าเท่า ๆ กัน ผู้ถือหุ้นทุกคนจะถือหุ้นแบบจำกัดความผิด หรือมีความรับผิดชอบที่จำกัดว่าจะไม่เกินจำนวนเงินที่ตนลงทุน

50.jpg

(3) บริษัทมหาชน คือ องค์กรธุรกิจที่ต้องประกอบด้วยผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 15 คนขึ้นไปและมีกรรมการของบริษัทเป็นจำนวนอย่างน้อย 5 คน (ทั้ง 5 ต้องมีทะเบียนที่อยู่ในประเทศไทย) และมีการระบุถึงเจตจำนงที่ต้องขายหุ้นให้กับประชาชนในหนังสือบริคณห์สนธิ ทั้งนี้ ประชาชนผู้ซื้อหุ้นจัดเป็นเจ้าของกิจการตามสัดส่วนของหุ้นที่ถือที่จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในรูปของเงินปันผล ประชาชนผู้ถือหุ้นในบริษัทมหาชนมีความรับผิดชอบจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ และหากเกิดความเสียหายใด ๆ ต่อบริษัท อาทิ การล้มละลาย ประชาชนผู้ถือหุ้นรับผิดชอบแค่สูญเสียเงินลงทุนเท่านั้น และสามารถขายให้ผู้อื่นได้ตามราคาหุ้นบนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


51.jpg


(4) องค์กรธุรกิจจัดตั้งหรือจดทะเบียนภายใต้กฎหมายเฉพาะ คือการสร้างองค์กรธุรกิจที่จดทะเบียนตามกฎหมายเฉพาะ และจะต้องมีผู้ถือหุ้นจำนวนไม่น้อยกว่า 15 คนขึ้นไป และจำเป็นต้องมีกรรมการของบริษัทอย่างน้อย 5 คน (ทั้ง 5 คนต้องมีทะเบียนที่อยู่ในประเทศไทย) หุ้นในองค์กรต้องมีมูลค่าเท่ากันและต้องชำระเต็มจำนวนในครั้งเดียวเท่านั้น ในทางกลับกัน การจดทะเบียนแบบไม่เป็นนิติบุคคลสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

(1) กิจการร้านค้าเจ้าของคนเดียว หรือบุคคลธรรมดา คือการดำเนินธุรกิจโดยมีเจ้าของบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการและรับผลกำไรและขาดทุนจากการลงทุนแต่เพียงคนเดียว ทำให้เจ้าของกิจการต้องรับผิดชอบในหนี้สินทั้งหมดโดยไม่จำกัดจำนวน ในกรณีที่ทรัพย์สินของกิจการไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ เจ้าหนี้ของกิจการประเภทนี้จะมีสิทธิ์ในการเรียกคืนทรัพย์สินของเจ้าของ

(2) ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน คือการร่วมกิจการระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปโดยต้องมีข้อตกลงเริ่มแรกว่าจะมีการลงทุนร่วมกันในด้านใดบ้าง เช่น เงิน (ไม่ต้องกำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำ), ทรัพย์สิน หรือแรงงาน ภายใต้วัตถุประสงค์ในการแบ่งปันกำไร การดำเนินธุรกิจในลักษณะนี้สามารถก่อตั้งได้ง่ายและสามารถแบ่งโอกาสและความเสี่ยงในธุรกิจ แต่หุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับผิดชอบในหนี้สินอย่างไม่จำกัดและอาจถูกฟ้องร้องเรื่องหนี้สินรายบุคคลได้


52.jpg


แหล่งที่มาอ้างอิงจาก https://www.sbcs.co.th/th/articles/?p=305

Facebook-Management YouTube Facebook-Consultant Facebook-Recruitment
คุณมองเห็นเรื่องนี้อย่างไร
  • ร้องไห้

    0คน

  • ไม่สำคัญ

    0คน

  • ดีใจ

    0คน

  • ปรบมือ

    0คน

  • น่ากลัว

    0คน

Notice

1. สถานีนี้ปฏิบัติตามมาตรฐานในวงการ และทุกบทความที่ถูกคัดลอกจะถูกทำเครื่องหมายชัดเจนว่าเป็นของผู้เขียนและแหล่งที่มา; 2. บทความต้นฉบับของสถานีนี้ โปรดระบุผู้เขียนและแหล่งที่มาเมื่อมีการคัดลอก เราจะดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ที่ไม่เคารพสิทธิของผู้เขียน; 3. การส่งบทความของผู้เขียนอาจถูกดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติมโดยบรรณาธิการของเราในบางกรณีที่เหมาะสม

แสดงความคิดเห็น
ค้นหา
อันดับ
รายการแท็ก
ติดตามเรา

สแกนเพิ่มเราเป็นเพื่อน เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติม

ความคิดเห็นล่าสุด

    กรุณาติดต่อเรา

    โปรดกรอกหมายเลขโทรศัพท์ของคุณ แล้วเราจะติดต่อกลับโทรศัพท์

    คุณคือผู้เยี่ยมชมคนที่ 41323 ของเว็บไซต์นี้ วันนี้มีบทความใหม่ 0 บทความ