อยากเปิดบริษัทในประเทศจีน ต้องทำอะไรบ้าง?
อยากเปิดบริษัทในประเทศจีน ต้องทําอะไรบ้าง ?
ประเทศจีนเป็นประเทศที่ทรงอิทธิพลและมีรากฐานการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทําให้ตลาดการลงทุนในจีนได้รับการความนิยมเป็นอย่างมากและความสนใจของผู้ประกอบการนักลงทุนทั่วโลกก็มีเพิ่มมากขึ้นไปด้วยเช่นกัน ถึงแม้ตลาดจีนจะได้รับความสนใจและมียอดการลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศสูงเป็นลําดับต้นๆ เมื่อเปรียบเทียบการตลาดอื่น แต่การที่จะจดทะเบียบจัดตั้งนิติบุคคลนั้น หรือเปิดบริษัทในเซี่ยงไฮ้ ไม่ใช่เรื่องง่ายของผู้ประกอบการชาวต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในจีน
และสิ่งสําคัญที่ผู้ประกอบการควรรู้ กฎระเบียบและให้ความสําคัญ ไม่ว่าจะกฎหมายธุรกิจ การกํากับดูแลของภาครัฐ การอนุมัติจดทะเบียนอุปสรรคข้อจํากัด การยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตลอดไปจนถึงการเตรียมตัวก่อนเริ่มทําธุรกิจ และต้องศึกษาแผนงานบริษัทและการจัดเตรียมงบในการลงทุนให้เหมาะสมกับธุรกิจนั้นๆอีกด้วย
กระบวนการจัดตั้งบริษัทในจีน ( ไม่ร่วมเงื่อนไขพิเศษที่ได้รับจากอนุมัติจากทางรัฐบาล) มีลําดับดังต่อไปนี้
1.ตรวจสอบชื่อบริษัทจากสํานักงานธุรกิจ (Business Bureau)
มีคณะบริหารอุตหกรรมและการค้าแห่งชาติ (SAIC) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบอนุมัติชื่อบริษัทใหม่ หลักการตั้งชื่่อบริษัท นอกจากห้ามใช้ชื่อซ้ำกับชื่อบริษัทที่มีอยู่แล้ว จะต้องเป็นชื่อที่เหมาะสมกับธรุกิจ และต้องผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากทาง AIC (Administration of Industry and Commerce) ก่อน ซึ่งประเมินว่าทาง AIC จะใช้เวลาพิจารณา 2-15วัน
2.ขออนุญาตจัดตั้งบริษัทกับทางสํานักงานพาณิชย์ในท้องที่ (Commerce Bureau)
นักลงทุนต่างชาติจะต้องยื่นขอจัดตั้งบริษัทกับทาง Commerce Bureau ซึ่งจะต้องยื่นจดหมายการสมัครเป็นนิติบุคคล เมื่อเปิดบัญชีบริษัทด้วย
3.ยื่นขออนุญาตจัดตั้งบริษัทกับทางหน่วยงานพาณิชย์จีน
ภายหลังการดําเนินการในข้อที่2 แล้ว ข้อบัคบการตั้งบริษัทใหม่ ทั้งผู้ประกอบการท้องถิ่นและผู้ประกอบชาวต่างชาติ จะต้องยื่นจัดตั้งนิติบุคคลกับหน่วยงาน2 แห่ง คือ กระทรวงพาณิชย์จีน (MOFCOM) และ SAIC เพื่อออกใบรับรองและใบอนุญาติการประกอบธุรกิจ ถึงจะสามารถเริ่มทําธุรกิจและขยายสาขาในจีนได้
4.รายละเอียดในใบอนุญาติการประกอบธุรกิจ
เมื่อธรุกิจได้รับการอนุมัติและได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ให้ใช้วันที่ในใบอนุญาต เป็นวันที่ก่อตั้งบริษัท
5.การประทับตรา (แสตมป์)
สําหรับการลงนามในพัสดุหรือไปรษณีลงทะเบียน จะต้องผ่านการตรวจตราจากเจ้าหน้าที่รัฐ
6.การเปิดบัญชี (ธนาคารกลางแห่งประเทศจีนคือ BOC )
การเปิดบัญชีบริษัท ควรเลือกธนาคารที่เหมาะกับธุรกิจ เพราะต้องใส่เงินทุนเข้าไป จึงต้องควรเลือกธนาคารระหว่างประเทศ (International Bank) เพื่อความสะดวกในการทําธุรกรรมระหว่างประเทศ หรือการโอนเงินไปประเทศของเจ้าของธุรกิจเอง โดยธนาที่เราแนะนําคือ HSBC เนื่องจากเป็นธนาคารที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เป็นสากลและเป็นธนาคารที่มีสํานักงานหลักอยู่ในเซี่ยงไฮ้และฮ่องกง
7.การลงทะเบียนยื่นภาษี
บริษัทที่จดทะเบียนในจีนจะต้องปฎิบัติตามระเบียบข้อบังคับตามที่ระบุในกฎหมายการจัดเก็บภาษี โดยจะต้องส่งรายงานบัญชีเป็นรายเดือน เพื่อแสดงรายการชําระภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษาเงินได้บุคคลธรรมดา รวมถึงจะต้องยื่นรายงานประจําปี ซึ่งประกอบด้วยการแสดงงบการเงินและรายงานของผู้ตรวจสอบบัญชีให้กับทางหน่วยงานรัฐบาลจีน
ประเภทของภาษาที่ผู้ประกอบการที่จัดตั้งธุรกิจรูปแบบชาวต่างชาติเป็นเจ้าของกิจการ (WFOE) หรือรูปแบบการร่วมทุน (JOINT - VENTURE) จะต้องทราบมีดังนี่้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล : การจัดเก็บภาษีขึ้นกับกำไรของบริษัท (หรือรายได้รวมลบค่าใช้จ่ายบริษัท) 25% อย่างไรก็ตามในกฎหมายให้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ เช่น ในกรณีที่ผู้ประกอบการทำธุรกิจในเซ็คเตอร์ที่รัฐบาลส่งเสริมการลงทุน ก็สามารถลดหย่อนภาษีได้ โดยจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลเพียง 15%
ภาษีการค้า (หรือภาษีการซื้อขาย) : เป็นภาษีที่จัดเก็บในอัตรา 3-5% ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ (ยกเว้นธุรกิจบันเทิงหรือธุรกิจเอนเตอร์เทนเม้นท์ ที่จัดเก็บภาษีในอัตราที่สูง ตั้งแต่ 5-20%
ภาษีศุลกากร : เป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้านำเข้าหรือส่งออกจากจีน ซึ่งก็มีการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษีให้กับผู้ประกอบการด้วยเช่นกัน เช่นบริษัทที่อยู่ในเขตการค้าเสรี
ภาษีมูลค่าเพิ่ม : ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT ในจีน จัดเก็บในอัตรา 17% เช่นเดียวกับภาษีการบริโภคในยุโรป ที่ไม่สามารถปฏิเสธการจ่ายได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา : เป็นภาษีที่เก็บจากเงินปันผลธุรกิจ และเงินเดือนของลูกจ้างในบริษัท
8. การลงทะเบียนขอใบอนุญาตการนําเข้า - ส่งออกสินค้าจากทรงกรมศุลกากร
จะต้องลงทะเบียนที่กรมศุลกากร โดยแสดง Identity Card ( IC card )
รายละเอียดรูปแบบการจัดตั้งบริษัท
การทําธุรกิจแบบร่วมทุน ( JV )
เป็นการตกลงของพารเนอร์คู่ค้าทั้ง 2ฝ่าย จาก2ประเทศ คือทุนธุรกิจต่างชาติและทุนจีนที่อยากทําธุรกิจร่วมกันในระยะยาว โดยการธุรกิจรูปแบบนี้เป็นวิธีแบบดั่งเดิมทั้งในแง่การจัดการเชิงพานิชย์การบริหารจัดการธุรกิจและการเงิน รวมถึงการจัดการในเชิงเทดนิคต่างเนื่องจากมีโมเดลจากการทําธุรกิจร่วมกัน เฉพาะฉะนั้นส่วนแบ่งธุรกิจทั้งกําไรขาดทุนรวมถึงความเสี่ยงจะแบ่งสัดส่วนการรับผิดชอบในอัตราที่เท่ากัน สําหรับการลงทุนรูปแบบนี้รัฐบาลจีนมีนโยบาลสนับสนุนธุรกิจที่มีการถ่ายโอนเทคโนโลยีให้กับบริษัทจีน
การจัดตั้งสํานักงานผู้แทน (the Representative Office : RO)
การตั้งสํานักงานผู้แทน เพื่อใช้ติดต่อธุรกิจระหว่างลูกค้ากับบริษัท เสมือนกับการติดต่อสํานักงานใหญ่ โดย RO จะบริหารจัดการทั้งหมดทั้งในด้านการตลาด งบการเงิน การจัดตั้งธุรกิจประเภทนี้เหมาะสําหรับบริษัทที่อยากทําธุรกิจในจีน แต่ไม่อยากเพิ่มความเสี่ยงในการตั้งบริษัทใหม่ รูปแบบนี้จึงเอื้อให้ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว
กิจการที่ต่างชาติเป็นเจ้าของกิจการ (the Wholly Foreign Owned Enterprise : WFOE)
สําหรับการเปิดบริษัทรูปแบบนี้ เหมาะสําหรับธุรกิจทุกประเภท แต่จํากัดสิทธิ์เฉพาะชาวต่างชาติเท่านั้น ส่วนข้อจํากัดหรือความเสี่ยงนั้น ขึ้นอยู่กับเงินทุนจดทะเบียนมากกว่าข้อจํากัดของประเภทการจัดตั้งบริษัท
กิจการห้างหุ้นส่วน (Partnership Enterprise)
รูปแบบการจัดตั้งบริษัทประเภทนี้เหมาะสําหรับการลงทุนในรูปแบบหุ้นส่วน ไม่จํากัดสัญชาติ อาจจะเป็นนักลงทุนจีนกับนักลงทุนต่างชาติ หรือเป็นการร่วมทุนระหว่างนักลงทุนต่างชาติกับนักลงทุนต่างชาติก็ได้ เหมาะสําหรับบริษัทขนาดกลางที่มีข้อจํากัดด้านการเงิน หรือมีข้อจํากัดเรื่องทุนจดทะเบียน ทําให้ไม่สามารถจัดตั้งบริษัทใบรูปแบบ WFOE ได้
ทั้งนี้ก่อนที่จะจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในจีน ผู้ประกอบการจะต้องเลือกรูปแบบการจัดตั้งธุรกิจให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนก่อน โดยรูปแบบการจัดตั้งธุรกิจแต่ละประเภทจะมีเงื่อนไขต่างกัน สิทธิประโยชน์และข้อจํากัดด้านการลงทุนจึงไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นการเลือกรูปแบบการจัดตั้งธุรกิจ เพื่อกําหนัดขอบเขตในเบื้องต้นก็เป็นเรื่องสําคัญที่ต้องตัดสินใจ หากเลือกได้ถูกประเภท จะทําให้การทําธุรกิจราบรื่นและประสบความสําเร็จจากการทําธุรกิจในจีน
ข้อมูลอ้างอิงจาก Interloop
ร้องไห้
0คน
ไม่สำคัญ
0คน
ดีใจ
0คน
ปรบมือ
1คน
น่ากลัว
0คน
1. สถานีนี้ปฏิบัติตามมาตรฐานในวงการ และทุกบทความที่ถูกคัดลอกจะถูกทำเครื่องหมายชัดเจนว่าเป็นของผู้เขียนและแหล่งที่มา; 2. บทความต้นฉบับของสถานีนี้ โปรดระบุผู้เขียนและแหล่งที่มาเมื่อมีการคัดลอก เราจะดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ที่ไม่เคารพสิทธิของผู้เขียน; 3. การส่งบทความของผู้เขียนอาจถูกดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติมโดยบรรณาธิการของเราในบางกรณีที่เหมาะสม