การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจีน
การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจีน
1.เอกสารประกอบการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
ผู้ยืนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ให้ยื่นเอกสารดังต่อไปนี้
(1) แบบคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (เฉพาะกรณียื่นคำขอเป็นกระดาษ หากเป็นคำขออิเล็กทรอนิกส์ ให้กรอกรายละเอียดในระบบยื่นคำขออิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ต้องกรอกคำขอที่เป็นกระดาษ)
(2) สำเนาเอกสารแสดงตนของผู้ยื่นคำขอ หากเอกสารดังกล่าวเป็นภาษาต่างประเทศต้องแนบคำแปลเป็นภาษาจีน
(3) หนังสือมอบอำนาจ (Power of Attorney) ที่ลงนามแล้ว (หากใช้ตัวแทนเครื่องหมายการค้า)
(4) หากผู้ยื่นคำขอประสงค์จะขอถือสิทธิในคำขอจดทะเบียนที่ได้ยื่นครั้งแรก (Right of Priority)
2. ระยะเวลาตรวจสอบคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า มาตรา 28 ของกฎหมายเครื่องหมายการค้า กำหนดให้ CHIPA จะต้องดำเนินการตรวจสอบคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้เสร็จสิ้นภายใน 9 เดือนนับจากวันยื่นคำขอ ตามแนวทางปฎิบัติในปัจจุบัน การตรวจสอบเนื้อหา (Substantive examination) ของคำขอจดทะเบียน เสร็จสิ้นภายในประมาณ 4 เดือน นับจากวันยื่นคำขอ
3.การตรวจสอบคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เมื่อ CNIPA ได้รับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จะดำเนินการตรวจสอบเบื้องต้นโดยตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบคำขอ (Formality examination ) ถ้าคำขอถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนด CNIPA จะออกหนังสือแจ้งการยอมรับ (Notifcation of Acceptance) ในกรณีที่จะต้องมีการแก้ไขคำขอเครื่องหมายการค้า CNIPA จะออกหนังสือแจ้งการแก้ไข (Correction Notification ) เพื่อแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไขภายใน 30 วันหลังจากได้รับแจ้ง
หากผู้ยื่นคำขอไม่ดำเนินการแก้ไขคำขอภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือแก้ไขไม่ถูกต้องครบถ้วน CHIPA จะปฎิเสธการรับคำขอดังกล่าว
หลังจาก CHIPA รับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบเนื้อหา (Substantive examination) ของคำขอ โดยจะตรวจสอบว่า มีเนื้อหาเข้าข่ายที่เป็นลักษณะต้องห้ามที่ต้องปฎิเสธรับจดทะเบียนโดยเด็ดขาด (Absolute grounds) ไม่เด็ดขาด (Ralative gronds) หรือไม่
เงื่อนไขในการปฎิเสธการรับจดทะเบียนโดยเด็ดขาดและไม่เด็ดขาด (Absolute Grounds and relative grounds) |
CNIPA จะปฎิเสธการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หากมีลักษณะต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตามกฎหมายเครื่องหมายการค้าของจีน โดยจำแนกลักษณะต้องห้ามเป็น 2 จำพวก คือลักษณะต้องห้ามที่ต้องปฎิเสธการรับจดทะเบียนโดยเด็ดขาด (Absolute grounds) และไม่เด็ดขาด (Ralative grounds) |
ลักษณะต้องห้ามที่ต้องปฎิเสธการรับจดทะเบียนโดดเด็ดขาด (Absolute grounds) เกี่ยวข้อมกับการละเมิดบทบัญญัติเกี่ยวกับลักษณะบ่งเฉพาะ (Distinctiveness) การไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง ( Non-functionality) และการคุ้มครองประโยชน์สาธารณภายใต้กฎหมายเครื่องหมายการค้า โดยไม่ได้พิจารณาถึงการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ลักษณะต้องห้ามดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับบทบัญญัติต่อไปนี้ |
1.มาตรา 4 การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริต โดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้งาน |
2.มาตรา 10 เครื่องหมายที่ต้องห้ามใช้เป็นเครื่องหมายการค้า |
3.มาตรา 11 เครื่องหมายที่ไม่สามาถจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้า |
4.มาตรา 12 สัญลักษณ์สามมิติที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง และต้องห้ามมิให้จดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้า |
5.มาตรา 19 (วรรด4) เครื่องหมายการค้าที่ใช้นามของตัวแทนเครื่องหมายการค้า แต่ใช้กับสินค้า / บริการอื่นนอกเหนือจากบริการของตัวแทนในจำพวก 45 |
6.ข้อ44 เครื่องหมายการค้าที่ได้มาจากการหลอกลวงหรือวิธีการที่ไม่เหมาะสมอื่นๆ |
ลักษณะต้องห้ามที่ต้องปฎิเสธการรับจดทะเบียนโดยไม่เด็ดขาด (Relative grounds) เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ได้มีการจดทะเบียนไว้ก่อนแล้วสิทธิอื่นๆที่มีอยู่ก่อนหน้าลักษณะต้องห้ามดังกล่างอาจเกี่ยวข้องกับบทญัติต่อไปนี้ |
1. มาตรา13 ละเมิดเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่มีชื่อเสียงแพร่หลายอยู่ก่อนหน้า |
2.มาตรา 15 เป็นเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ผู้ยื่นคำขอมีตัวแทน ผู้แทนหรือความสัมพันธ์ทางธุรกิจอื่นๆ |
3.มาตรา 16 ละเมิดสิทธิในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของบุคคลอื่น |
4 มาตรา 30 และ 31 ละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้รับการจดทะเบียนหรือมีการใช้งานอยู่ก่อนหน้านี้ |
5.มาตรา 32 (วรรค 1 ) ละเมิดสิทธิที่มีอยู่ก่อนหน้าของบุคคลอื่น นอกเหนือจากสิทธิในเครื่องหมายการค้า |
6.มาตรา 32 (วรรค 2 ) เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่มีการใช้งานอยู่ก่อนหน้าและมีอิทธิพลอย่างใดอย่างหนึ่งต่อผู้บริโภค |
ในขั้นตอนการตรวจสอบเนื้อหา (Substantive examination) จะมีผลการพิจารณาที่เป็นไปได้อยู่ 3 แบบ ได้แก่ การอนุมัติเบื้องต้น ( Preliminary approval) การปฎิเสธบางส่วน (Partial refusal) และการปฎิเสธทั้งหมด (Total refusal)
ในกรณีที่คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้รับการปฎิเสธทั้งหมดหรือการปฎิเสธบางส่วน หากผู้ยื่นคำขอไม่พอใจกับผลการพิจาณาดังกล่าว อาจยื่นคำร้องขอให้มีการทบทวนการปฎิเสธใน15วัน นับจากวันที่ผู้ยื่นคำขอได้รับการแจ้งเตือนปฎิเสธ
ในกรณีที่คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้รับการปฎิเสธบางส่วน ผู้ยื่นคำขออาจแบ่งคำขอดังกล่าวออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
1.ส่วนที่ได้รับการอนุมัติเบื้องต้น โดยจะมีการประกาศโฆษณาแยกต่างหาก
2. ส่วนที่ได้รับการปฎิเสธ ซึ่งจะต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาทบทวนต่อไป การแบ่งคำขอดังกล่าว จะทำให้เกิดคำขอใหม่ 2 คำขอที่มีวันยื่นคำขอที่แยกขาดจากกัน
หากคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้รับการอนุมัติเบื้องต้น จะมีการประกาศโฆษณาคำขอดังกล่างเป็นระยะเวลา3เดือน โดยบุคคลภายนอกอาจยื่นคำคัดค้านได้ หากไม่มีการยื่นคำคัดค้าน เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการประกาศโฆษณา CHIA จะอนุมัติคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยจะออกหนังสือรับรองการจดทะเบียน (Registration certificate) และประกาศรับจดทะเบียน
4.ระยะเวลาการคุ้มครองเครื่องหมายการค้า ภายใต้มาตรา 39 ของกฎหมายเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนจะมีอายุการคุ้มครอง 10 นับแต่วันที่ได้รับอนุมัติให้จดทะเบียน
ร้องไห้
0คน
ไม่สำคัญ
0คน
ดีใจ
0คน
ปรบมือ
0คน
น่ากลัว
0คน
1. สถานีนี้ปฏิบัติตามมาตรฐานในวงการ และทุกบทความที่ถูกคัดลอกจะถูกทำเครื่องหมายชัดเจนว่าเป็นของผู้เขียนและแหล่งที่มา; 2. บทความต้นฉบับของสถานีนี้ โปรดระบุผู้เขียนและแหล่งที่มาเมื่อมีการคัดลอก เราจะดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ที่ไม่เคารพสิทธิของผู้เขียน; 3. การส่งบทความของผู้เขียนอาจถูกดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติมโดยบรรณาธิการของเราในบางกรณีที่เหมาะสม