5 กฎหมายที่ SME ควรรู้ ควบคู่การประกอบธุรกิจ

Yo การอ่าน:321 05-04-2024 13:49:46 ความคิดเห็น:0

สําหรับใครที่จะตั้งใจก้าวเข้ามาเป็นผู้ประกอบการเรื่องSME  เรื่องกฎหมายธุรกิจถือว่าเป็นสิ่งสําคัญมากที่ไม่ควรข้ามมองเพราะการทำธุรกิจทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิตสินค้าหรือบริการก็ตาม ทุกอย่างมีข้อจํากัดทาง กฎหมายทั้งสิ้น 

อีกทั้งการทำธุรกิจมีข้อผูกพันเกี่ยวกับเรื่องของภาษี ซึ่งแน่นอนเลยว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องของกฎหมายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากคิดจะดำเนินธุรกิจให้มีอุปสรรคทางด้านกฎหมายน้อยที่สุด ก็ควรศึกษาเรื่องของกฎหมายธุรกิจให้ดีเพื่อจะได้ทำทุกอย่างได้ถูกต้อง ดังนั้นก่อนจะเริ่มทำธุรกิจควรทราบกฎหมายเบื้องต้นที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจของตนเองดังนี้




งานTMA (1) (1).jpg




5 กฎหมายเบื้องต้นที่ SME ควรรู้



1. กฎหมายแรงงาน : ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ควรศึกษากฎหมายแรงงานควบคู่ไปด้วย เพราะกฎหมายแรงงาน เป็นกฎหมายพื้นฐานที่ระบุถึงสิทธิของลูกจ้างและนายจ้างไว้อย่างชัดเจน เพื่อป้องกันการเอาเปรียบไม่ว่าฝ่ายไหนก็ตาม ซึ่งตามกฎหมายแรงงานจะกำหนดสิทธิและสวัสดิการต่างๆ เอาไว้ เช่น ระยะเวลาการทำงาน วันหยุด ค่าแรง ความปลอดภัยในการทำงาน

 

2. กฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภค : จากกฎหมายนี้ระบุไว้ว่า ผู้บริโภคมีสิทธิ์ที่จะได้รับรู้ถึงคุณภาพที่ถูกต้องและและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ และมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ เมื่อผู้บริโภครู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในสินค้าหรือบริการ ผู้บริโภคมีสิทธิ์ฟ้องร้องและพิจารณาขอชดเชยความเสียหาย ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทของผู้ประกอบการก็ตาม ผู้ประกอบการก็ต้องมีส่วนรับผิดชอบ


ดังนั้นหากอยากดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบ ก็ต้องศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคให้ดีเสียก่อน เพื่อเป็นการอุดช่องโหว่ให้กับธุรกิจดำเนินไปแบบไม่ต้องติดปัญหา ซึ่งกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคก็มีด้วยกันหลานฉบับ เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค, พระราชบัญญัติยาพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยพระราชบัญญัติอาหารพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง เป็นต้น

 

3. กฎหมายเครื่องหมายการค้า : เครื่องหมายการค้า กฎหมายระบุว่า จะต้องมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้าทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าของมีความแตกต่างจากสินค้าผู้อื่น และเครื่องหมายการค้าจะต้องบ่งบอกถึงแหล่งกำเนิดของสินค้าและความเป็นเจ้าของอีกด้วย รวมถึงยังเป็นเครื่องหมายที่รับประกันคุณภาพสินค้าแก่ผู้บริโภค ที่สำคัญจะต้องจดทะเบียนต่อกรมททรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย

 

4. กฎหมายลิขสิทธิ์ หากผู้ประกอบการมีความจำเป็นต้องหยิบยืมบางสิ่งบางอย่างจากผู้อื่นมาใช้ ซึ่งถ้าผู้นั้นมีการจดลิขสิทธิ์อย่างถูกต้อง ผู้ประกอบการต้องศึกษาให้ดีว่าจะสามารถนํามาดัดแปลง หรือแก้ไขได้หรือไม่ ซึ่งกฎหมายระบุไว้ว่า กรณีเป็นนิติบุคคล ลิขสิทธิ์จะมีอายุ 50 ปี นับตั้งแต่ได้สร้างสรรค์ผลงานขึ้น ในส่วนงานภาพถ่าย โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ หรืองานเสียง ภาพที่มีการเผยแพร่ลิขสิทธิ์มีอายุ 50 ปี นับแต่ได้ สร้างสรรค์งานชิ้นนั้นขึ้นมา หากเป็นงานที่สร้างสรรค์โดยการจ้าง หรือทำตามคำสั่ง จะมีอายุ 50 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งาน ดังนั้นหากผู้ประกอบการใดที่มีความจําเป็นจะต้อง นํางานของผู้อื่นมาใช้ในการทำธุรกิจจะต้องศึกษาให้ละเอียดรอบคอบก่อนที่จะนำมาใช้ เพื่อไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางธุรกิจที่ตามมา

 

5. กฎหมายสิทธิบัตร คือหนังสือสำคัญที่ใช้คุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ งานออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือกรรมวิธีการผลิต ซึ่งการคุ้มครองด้วยสิทธิบัตรจะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้อื่นลอกเลียนแบบหรือขายโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้นผู้ประกอบการใดที่มีความเกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ต่างๆ จำเป็นต้องศึกษาไว้ให้ดี เนื่องจากสิทธิบัตรถือเป็นหนังสือสำคัญที่ออกให้ เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ทางธุรกิจ ส่วนอายุการคุ้มครองของสิทธิบัตรนั้น หากเป็นงานเกี่ยวกับการประดิษฐ์จะมีอายุ 20 ปี นับตั้งแต่วันขอรับสิทธิบัตร แต่ถ้าเป็นลักษณะของการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีอายุ 10 ปี นับตั้งแต่วันขอรับสิทธิบัตร






แหล่งอ้างอิง : กรมทรัพย์สินทางปัญญา

https://bsc.dip.go.th/

http://thaifranchisedownload.com/


Facebook-Management YouTube Facebook-Consultant Facebook-Recruitment
คุณมองเห็นเรื่องนี้อย่างไร
  • ร้องไห้

    0คน

  • ไม่สำคัญ

    0คน

  • ดีใจ

    0คน

  • ปรบมือ

    0คน

  • น่ากลัว

    0คน

Notice

1. สถานีนี้ปฏิบัติตามมาตรฐานในวงการ และทุกบทความที่ถูกคัดลอกจะถูกทำเครื่องหมายชัดเจนว่าเป็นของผู้เขียนและแหล่งที่มา; 2. บทความต้นฉบับของสถานีนี้ โปรดระบุผู้เขียนและแหล่งที่มาเมื่อมีการคัดลอก เราจะดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ที่ไม่เคารพสิทธิของผู้เขียน; 3. การส่งบทความของผู้เขียนอาจถูกดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติมโดยบรรณาธิการของเราในบางกรณีที่เหมาะสม

แสดงความคิดเห็น
ค้นหา
อันดับ
รายการแท็ก
ติดตามเรา

สแกนเพิ่มเราเป็นเพื่อน เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติม

ความคิดเห็นล่าสุด

    กรุณาติดต่อเรา

    โปรดกรอกหมายเลขโทรศัพท์ของคุณ แล้วเราจะติดต่อกลับโทรศัพท์

    คุณคือผู้เยี่ยมชมคนที่ 41300 ของเว็บไซต์นี้ วันนี้มีบทความใหม่ 0 บทความ