ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับระบบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในจีน
1.การยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในจีน
ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในจีน ได้ 2 ช่องทาง
(1) การยื่นคำขอโดยตรงไปยังจีน(Direct national application) ผู้ประกอบการสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อ CNIPA ได้โดยตรงโดยการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและการจัดการเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องหมายการค้าในจีนจะต้องดำเนินการผ่านตัวแทนเครื่องหมายการค้า (TraAgency) ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้อย่างถูกต้องกับ CNIPA ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบรายชื่อตัวแทนเครื่องหมายการค้าที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับ CNIPA ได้จากเว็บไซต์http://sbj.cnipa.gov.cn/sbd (ข้อมูลบนเว็บไซต์มีเฉพาะภาษาจีนเท่านั้น)
2) การยื่นคำขอผ่านระบบคำขอระหว่างประเทศ (International registration)ผู้ประกอบการอาจยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศผ่านระบบคำขอระหว่างประเทศ หรือระบบมาดริด' โดยยื่นคำขอต่อองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก(WIPO) และเลือกจีนเป็นประเทศปลายทาง สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่นคำขอผ่านระบบมาดริดได้ที่เว็บไซต์ของ WIPO (www.wipo.int) และเว็บไซต์ของสำนักงานเครื่องหมายการค้าของ CNIPA (http://sbj.cnipa.gov.cn/gjzc/)
2.คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในจีน ผู้ยื่นคำขอจะยื่นในนามบุคคลธรรมดา นิติบุคคลหรือองค์กรก็ได้ โดยจะแยกกันหรือร่วมกันยื่นคำขอก็ได้ ในกรณีที่ยื่นคำขอร่วมกัน ผู้ยื่นคำขอจะมีสิทธิร่วมกันในการใช้ประโยชน์จากสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียน
3.หลักการยื่นจดทะเบียนก่อนสิทธิดีกว่า (First - to - file)
จีนให้การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า โดยใช้หลักการยื่นจดทะเบียนก่อนมีสิทธิดีกว่า (First - to - file) และไม่ได้กำหนด การใช้เครื่องหมายการค้า (Use) เป็นเงื่อนไขเบื้องต้นในการยื่นคำขอหรือการขึ้นทะเบียนเครื่องหมายการค้า อย่างไรก็ตามในบางกรณี จีนให้ความคุ้มครอง เครื่องหมายการค้าที่ได้มีการใช้อยู่แล้ว เช่น เครื่องหมายการค้าที่ใช้สำหรับสินค้าและบริการแล้วมีอิทธิพลอย่างใดอย่างหนึ่งต่อผู้บริโภคในการตลาด หรือเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนแต่ เป็นที่รู้จักแพร่หลาย เป็นต้น
4. ประเภทของเครื่องหมายการค้า
มาตรา 8 เป็นกฎหมายเครื่องหมายการค้า กำหนดให้สิ่งที่จะนำมาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าได้ ต้องเป็นเครื่องหมายที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างรวมกัน ดังนี้ เป็นแผนภูมิ (graph) ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์สามมิติ สี เสียง หรือการผสมผสานอื่นใด ที่ทำให้สามารถแยกแยะความแตกต่างของสินค้าหรือบริการของบุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือองค์กรอื่นๆ จากสินค้าหรือบริการของบุคคลอื่นนได้
มาตรา3 ของกฎหมายเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายการค้าที่ CNIPA รับจดทะเบียน ได้แก่เครื่องหมายการค้า (Trademarks for goods) เครื่องหมายบริการ ( Trademarks for services) เครื่องหมายร่วม (Collective trademarls) และเครื่องหมายรับรอง (Certification trademarls )
เครื่องหมายร่วม เป็นเครื่องหมายที่จดทะเบียนในนามกลุ่ม สมาคม หรือองค์กรอื่นๆโดยมีวัตถุ ประสงค์เพื่อให้สมาชิกขององค์กรดังกล่าวใช้ในกิจกรรมทางการค้าเพื่อแสดงถึงความเป็นสมาชิกขององค์กร
เครื่องหมายรับรอง เป็นเครื่องหมายที่ควบคุมโดยองค์กรที่มีความสามารถในการกำกับดูแลสินค้าหรือบริการ เพื่อรับรองแหล่งกำเนิด วัตถุดิบ วิธีการผลิต คุณภาพ หรือลักษณะอื่นของสินค้าหรือบริการขององค์กรหรือบุคคลอื่นที่องค์กรหรือบุคคลอื่นที่องค์กรเจ้าของเครื่องหมายรับรองอนุญาติให้ใช้เครื่องหมายรับรองได้
เครื่องหมายรับรองและเครื่องหมายร่วมของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical lndication GI) กฎหมายเครื่องหมายการค้าของจีนมีกลไกลในการปกป้องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) โดยกำหนดให้สินค้า (GI) สามารถมาขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วมได้ผู้ประกอบการต่างชาติหรือองค์กรต่างประเทศที่ต้องการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนสินค้า GI ในจีน จะต้องแสดงหลักฐานว่า สินค้า GI ดังกล่าวได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายในประเทศต้นทาง
5. เครื่องหมายที่ต้องห้ามใช้เป็นเครื่องหมายการค้า
มาตรา 10 ของกฎหมายเครื่องหมายการค้า ห้ามมิให้ใช้เครื่องหมายที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นเครื่องหมายการค้า
(1) เครื่องหมายที่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับชื่อรัฐ ธงประจำชาติ ตราสัญลักษณ์หรือเพลงชาตื ธงทหาร ตราลักษณ์ เพลง หรือเหรียญตราของสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือที่เหมือนกับชื่อหรือเครื่องหมายของหน่วยงานของรัฐกลาง ชื่อเฉพาะของสถานที่ที่หน่วยงานของรัฐส่วนกลางตั้งอยู่ หรือที่เหมือนกับชื่อหรือแบบของอาคารสถานที่สำคัญ
(2) เครื่องหมายที่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับชื่อรัฐ ธงประจำชาติ ตราสัญลักษณ์ หรือ ธงทหาร ของต่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากรัฐบาลของประเทศนั้น
(3) เครื่องหมายที่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับชื่อ ธง หรือเครื่องหมายขององค์กรรัฐบาลระหว่างประเทศ (International intergovernmental organization) เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากองค์กรนั้น หรือ ยกเว้นในกรณีที่ไม่ทำให้ประชาชนสับสนหลงผิด
(4) เครื่องหมายที่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายทางราชการหรือตราประทับการตรวจสอบ ( lnspection stamp ) ที่แสดงการควบคุมและการรับประกัน เว้นแต่จะได้รับอนุญาต
(5) เครื่องหมายที่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับสัญลักษณ์หรือชื่อของสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ
(6) เครื่องหมายที่แสดงถึงการเลือกปฎิบัติต่อชนชาติใดๆ
(7) เครื่องหมายที่มีลักษณะลวงหลอกและมีแนวโน้มว่าจะลวงหลอกประชาชน ในด้านคุณภาพ สถานที่ผลิต
(8) เครื่องหมายที่เป็นภัยต่อจริยธรรมหรือขนบธรรมเนียมของสังคมนิยม หรือขัดต่อศีลธรรม
ห้ามใช้ชื่อทางภมิศาสตรของเขตการปกครองระดับมณฑลหรือสูงกว่าและชื่อทางภูมิศาสตร์ของต่างประเทศที่เป็นที่รู้จักของสาธารณชนเป็นเครื่องหมายการค้า ยกเว้นในกรณีที่ชื่อทางภูมิศาสตร์ มีความหมายอื่นหรือเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายร่วมหรือเครื่องหมายรับรองซึ่งไม่รวมถึงเครื่องหมายการค้าที่ใช้ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับการจดทะเบียนไว้แล้ว
6. เครื่องหมายที่ไม่สามารถจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้า
มาตรา 11 ของกฎหมายเครื่องหมายการค้า ห้ามมิให้จดทะเบียนเครื่องหมายต่อไปนี้เป็นเครื่องหมายการค้า
(1) เครื่องหมายที่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับชื่อรัฐ ธงประจำชาติ ตราสัญลักษณ์หรือเพลงชาตื ธงทหาร ตราลักษณ์ เพลง หรือเหรียญตราของสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือที่เหมือนกับชื่อหรือเครื่องหมายของหน่วยงานของรัฐกลาง ชื่อเฉพาะของสถานที่ที่หน่วยงานของรัฐส่วนกลางตั้งอยู่ หรือที่เหมือนกับชื่อหรือแบบของอาคารสถานที่สำคัญ
(2) เครื่องหมายที่เล็งถึงคุณภาพ วัสดุบหลัก หน้าที่ การใช้งาน นํ้าหนัก ปริมาณ หรือ ลักษณะอื่นๆของสินค้า / บริการ และ
(3) เครื่องหมายที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
เครื่องหมายใดๆ ตามข้อ (1) - (3) สามารถจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าได้ หากมีลักษณะบ่งเฉพาะที่เกิดจากการใช้ โดยต้องสามารถระบุได้อย่างง่ายดาย
7.การจัดจำพวกสินค้าและบริการ
จีนเป็นประเทศสมาชิกของสหภาพนีซ (Nice Union)จึงใช้ระบบการกำหนดจำพวกสินค้าและบริการตามตกลงนีซว่าด้วยการจำพวกสินค้าและบริการระหว่างประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (International Classification of Goods and services for the Purposes of the Registration of Marks : the Nice Classification) ในปัจจุบัน มีการแบ่งสินค้าและบริการออกเป็น 45 จำพวก โดยจำพวกที่ 1-34 สำหรับสินค้าและจำพวกที่ 35-45 สำหรับบริการ นอกจากนี้ CNIPA ยังได้จัดทำตารางการจัดจำพวกสินค้าและบริการคล้ายคลึงกัน ( Classification Table of Similar Goods and services : the Classification Table) ซึ่งรวบรวมรายการสินค้าและบริการที่มีการใช้เป็นการทั่วไปและเป็นการเฉพาะในจีน โดยจำแนกสินค้าและบริการที่มึความคล้ายคลึงกันออกเป็นจำพวกย่อย ( Sub - class ) ตารางการจัดจำพวกดังกล่าวมีประโยชน์อย่างมากในการจัดทำคำขอจดทะเบียนและการตรวจสอบเครื่องหมายการค้า
8. วิธีในการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
ผู้ยื่นคำขอสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ทั้งในรูปแบบกระดาษ และอิเล็กทรอนิกส์โดยในปัจจุบัน คำขอเครื่องหมายการค้าในจีนส่วนใหญ่เป็นคำขอที่ยื่นผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากเป็นระบบที่อำนวยความสะดวกและมีประสิทธิภาพ
9.เขตการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าของจีน
เครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนโดย CNIPA จะได้รับการคุ้มครองในจีนแผ่นดินใหญ่ (China's mainland) เท่านั้น
10. แผนภาพแสดงกระบวนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในจีน
1.ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของเอกสาร
2.ตรวจสอบความถูกต้องของชื่อสินค้า / บริการ
ลักษณะต้องห้ามที่ต้องปฎิเสธการรับจดทะเบียน
โดยเด็ดขาด (Absolute grounds)
โดยไม่เด็ดขาด (Relative Grounds )
ร้องไห้
0คน
ไม่สำคัญ
0คน
ดีใจ
0คน
ปรบมือ
0คน
น่ากลัว
0คน
1. สถานีนี้ปฏิบัติตามมาตรฐานในวงการ และทุกบทความที่ถูกคัดลอกจะถูกทำเครื่องหมายชัดเจนว่าเป็นของผู้เขียนและแหล่งที่มา; 2. บทความต้นฉบับของสถานีนี้ โปรดระบุผู้เขียนและแหล่งที่มาเมื่อมีการคัดลอก เราจะดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ที่ไม่เคารพสิทธิของผู้เขียน; 3. การส่งบทความของผู้เขียนอาจถูกดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติมโดยบรรณาธิการของเราในบางกรณีที่เหมาะสม