วัฒนธรรมและธรรมเนียมปฎิบัติในการดำเนินธุรกิจในจีน
วัฒนธรรมและธรรมเนียมปฎิบัติในการดำเนินธุรกิจในจีน
องค์ประกอบสำคัญของการทำธุรกิจร่วมกับชาวจีน คือ
ความสร้างสัมพันธ์
การสร้างภาวะ "Win-Win"
การดำเนินธุรกิจแบบให้ประโยชน์นอกจากตัวเงิน
ความจริงใจ 5การมุ่งทำธรุกิจระยะยาว
ทั้งนี้วัฒนธรรม คือ ความสัมพันธ์ลำดับชั้นทางสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการรักษาหน้าตา ในส่วนนี้ได้ยกประเด็นธรรมเนียมที่เป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนและนักธุรกิจในการติดต่อเจรจาและทำงานร่วมกับชาวจีน ดังนี้
ธรรมเนียมพึ่งปฎิบัติของนักลงทุนในการพบปะชาวจีน
1. จีนถือว่านักลงทุนต่างชาติเป็นคนต่างแดน ควรมีหน้าที่ไปเยี่ยมคำนับผู้มีอาวุโสของฝ่ายจีน ได้แก่ เลขาธิการพรรคระดับมณฑล ผู้ว่าราชการมลฑล/ จังหวัด / อำเภอ และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในระดับนั้นๆ โดยผ่านการติดต่อเป็นทอดๆไปและพยายามรักษาความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ของรัฐแม้ว่าจะไม่มีกิจธุระทางธุรกิจ เพื่อรักษาความสัมพันธ์และประโยชน์ในอนาคต ทั้งนั้นพึงให้ผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานรักษาความสัมพันธ์ดังกล่าวเช่นกัน
2. เนื่องจากคนจีนไม่ชอบทำธุรกิจกับคนแปลกหน้า ดังนั้นการมีคนกลางที่เป็นที่รู้จักทั้งสองฝ่ายเป็นผู้แนะนำจะเป็นประโยชน์มาก ในการทำความรู้จักควรใช้เวลาด้วยการพบปะหลายๆครั้งเพื่อสร้างสัมพันธ์อันดี หลังจากนั้นจึงเริ่มการเจรจาเกี่ยวกับธุรกิจ ทั้งนี้อาจใช้เทคนิดเครือญาติแสดงคสามเป็นพี่น้อง โดยให้ความเครารพนับถือชาวจีนเหมือนพี่ แสดงความนอบน้อมก็จะได้รับความเอ็นดูและช่วยเหลือซึ่งเป็นผลดีต่อการติดต่อธุรกิจ
3. ควรมีหนังสือ กำหนดการ และประเด็นการสนทนาสำหรับการนัดหมายกับชาวจีนที่เป็นทางการ หรือผู้ที่ไม่คุ้นเคย โดยเฉพาะการนัดหมายกับผู้ที่มีตำแหน่งใหญ่ หรือมีความเป็นอาวุโสมากเพื่อเป็นการแสดงความเคารพและสร้างความประทับใจ ทั้งนี้พึงระมัดระวังเรื่องชื่อและตำแหน่งที่ระบุในบัตรเชิญให้ถูกต้อง การนัดหมายที่ควรจะเป็นเวลาคาบเกี่ยวมื้ออาหาร เพื่อที่จะได้เชิญรับประทานอาหารต่อ (หรือระบุในหนังสือเชิญ) เป็นการสานสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทั้งนี้ควรไปถึงสถานที่นัดหมายก่อนเวลาเล็กน้อยเพื่อแสดงการให้เกียรติ
4. ชาวจีนให้ความสำคัญกับเรื่องลำดับขั้น ตํ่าแหน่ง หรือความอาวุโสมาก การติดต่อเจรจาธุรกิจควรส่งตัวแทนที่มีตำแหน่งในระดับกับผู้ที่จะไปเจรจาด้วย การส่งคนตํ่าแหน่งต่ากว่าไปเจรจาแสดงถึงความไม่ให้เกียรติ ทั้งนี้หากคู่เจรจามีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงมากหรือเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ควรจะใช้สรรพนามอย่างเหมาะ รวมทั้งมีนามบัตรแนะนำตัวด้วย อย่างไรก็ตามหากเกิดเหตุสุดวิสัย เช่น ผู้ใหญ่ติดภารกิจเร่งด่วน ควรขอเลื่อนนัดและแสดงความขอโทษ หรือขอนัดกับผู้ที่มีตำแหน่งรองลงมาที่เท่าเที่ยมกับฝ่ายเรา ในกรณีที่ต้องใช้ล่างต้องระมัดระวังกำกับล่ามเรื่องตำแหน่งให้ถูกต้องด้วย
5. ควรสอบถามถึงตำแหน่งการนั่งที่ต้องการ เช่น ตํ่าแหน่งที่ไกลจากประตูที่สุด ตํ่าแหน่งที่เด่นที่สุด เป็นต้น หากฝ่ายจีนมาเยือนควรจัดห้องรับรองแบบมีโชฟา หรือใช้เก้าอี้รับรองแทนการใช้ห้องประชุมเพื่อให้บรรยากาศเป็นกันเอง
6. นาม ควรจะมีภาษาจีนกำกับ โดยการมอบนามบัตรควรมอบและรับด้วยสองมือ หักตัวหนังสือให้ฝ่ายตรงข้ามสามารถอ่านได้ และเมื่อได้รับนามบัตรควรให้เกียรติโดยถือนามบัตรไว้สักพักหนึ่งหรือหากนั่งอยู่ให้วางไว้บนโต๊ะ
7. ในการพบปะแต่ละครั้งอาจมีของขวัญมอบให้แก่ฝ่ายตรงข้ามเพื่อเป็นการแสดงถึงนํ้าใจไมตรี โดยให้หลังการประชุม หรือหลังการประชุม หรือหลังทานอาหารเสร็จ สำหรับวัตนธรรมของจีนจะมีสิ่งของบางประเภทที่ไม่ควรให้เป็นของขวัญ เช่น นาฬิกาตั้งโต๊ะ หมวกสีเขียว เป็นต้น
8 การรักษาและสงวนท่าทีเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากสำหรับคนจีน เพราะจะทำให้ไม่ทราบความรู้สึกที่แท้จริงของคนจีนที่สนทนาด้วย บุคคลิกที่เงียบขรึม เป็นผู้ฟังที่ดี มีท่าทีที่อ่อนน้อม และเครรพผู้อื่น อทน และสนใจสิ่งรอบข้าง จะสร้างความได้เปรียบในการเจรจา ทั้งนี้คนจีนมักจะไม่ทำการใดๆที่จะเป็นการสร้างความไม่พอใจและก่อให้เกิดความแตกแยกในที่สาธาณะ
ร้องไห้
0คน
ไม่สำคัญ
0คน
ดีใจ
0คน
ปรบมือ
0คน
น่ากลัว
0คน
1. สถานีนี้ปฏิบัติตามมาตรฐานในวงการ และทุกบทความที่ถูกคัดลอกจะถูกทำเครื่องหมายชัดเจนว่าเป็นของผู้เขียนและแหล่งที่มา; 2. บทความต้นฉบับของสถานีนี้ โปรดระบุผู้เขียนและแหล่งที่มาเมื่อมีการคัดลอก เราจะดำเนินการตามกฎหมายต่อผู้ที่ไม่เคารพสิทธิของผู้เขียน; 3. การส่งบทความของผู้เขียนอาจถูกดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติมโดยบรรณาธิการของเราในบางกรณีที่เหมาะสม